วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประวัติไข่เค็มไชยา

ประวัติไข่เค็มไชยา

         
          เมืองไชยาเดิมนั้นอุดมสมบูรณ์ มีการทำนา ปลูกข้าว และประชาชน มีการเลี้ยงเป็ด กันทั่วไปตามหมู่บ้านต่างๆ ตำบลต่างๆ เพราะอาหารเลี้ยงเป็ด ตามธรรมชาติมีมาก เช่น ข้าวเปลือก ลูกปลา หอย และอื่นๆ ในนาข้าวมีอุดมสมบูรณ์ ทำให้ชาวบ้านมีการเลี้ยงเป็ดปล่อยทุ่ง หากินในนาและรอบๆ บ้าน ไข่เป็ดเหลือจาก การใช้บริโภคในครอบครัว นำไปขายในตลาด อำเภอไชยา ประชาชนในตลาดไชยา และที่อื่นๆ ซื้อไข่เป็ดไปประกอบอาหาร ทอด ต้ม แล้วไข่เป็ดซึ่งแดง มัน อร่อย เป็นที่พอใจแก่ผู้บริโภค ได้รับการบอกเล่า จากผู้สูงอายุว่าในสมัยที่รัฐบาล พยายามสร้างทางรถไฟสายใต้ มีคนจีนชื่อ นายจี่ แซ่ซิก เป็นช่างทำสะพานเหล็ก สร้างทางรถไฟสายใต้ตั้งแต่ ชุมพร-สุราษฎร์ธานี  ได้มาตั้งบ้านเรือน อยู่ที่ดอนโรงทอง อำเภอเมืองไชยา สมัยนั้น คนจีนเก่งในการจัดทำ อาหารรับประทานอยู่แล้ว เห็นไข่เป็ดไชยาแดง มัน อร่อย ก็คิดหาวิธีการว่า น่าจะนำไข่เป็ดไชยา มาทำให้เป็นอาหารเก็บไว้นานๆ และมีรสอร่อย เดิมคนจีนและชาวไชยา ใช้ไข่เป็ดดองกับน้ำเกลือ แล้วทิ้งไว้ระยะหนึ่ง จึงนำมาต้มกินกับข้าวต้ม แต่มีรสเค็ม ไม่อร่อย ต่อมามีผู้เล่าว่า มีการนำไข่เป็ดไปผังดินเค็มริมทะเลประมาณ15 วัน แล้วนำมาล้างต้มกิน มีรสชาติดียิ่งขึ้น รับประทานกับข้าวต้มอร่อย มัน แต่การทำไม่สะดวก นายจี่ แซ่ซิก และครอบครัว อยู่ตลาดไชยา ได้คิดค้นหาวิธีการ ทำไข่เค็มโดยใช้ ดินเหนียวผสมเกลือป่น ผสมในอัตราส่วนพอเหมาะ คลุกขี้เถ้าเก็บไว้นานพอประมาณ นำมาล้างแล้วต้มรับประทาน ทำเป็นอาหารอื่นๆ แล้ว ทำให้อร่อย แต่ข้อเสียของดินเหนียวคือ ไม่เกาะไข่มากนัก ในระยะต่อมา ได้ปรับปรุงหาวิธีการ โดยใช้ดินปลวกทำแบบเค็ม ทำให้ผลดี แต่นั้นมาครอบครัวของนายจีน แซ่ซิก ก็ทำไข่เค็มขายและขายได้ดี จึงทำให้คนอื่นๆ ในตลาดไชยาทำกันมากขึ้น อีกทั้งประชาชนเมืองอื่นๆ มาเที่ยวเมืองไชยา เช่น เมืองระนอง เมืองชุมพร เมืองหลังสวน ได้ซื้อไปรับประทาน ชอบอกชอบใจ ก็สั่งซื้อไปขายต่อเป็น ที่แพร่หลาย สมัยแรกมีผู้ทำไข่เค็มไชยาหลายบ้าน เช่น บ้านนางเล็กเหี้ยว บ้านแม่กลับ ถิ่นธานี บ้านนางกิ้ม นายสืบ สวัสดิชีวิน และบ้านอื่นๆ กิจกรรมการทำไข่เค็ม เป็นที่สนใจของประชาชน ในเมืองไชยาและเมืองอื่นๆ พ่อค้าแม่ค้าได้นำไข่เค็มเมืองไชยาไปขายยังท้องถิ่นอื่นๆ ทำให้ไข่เค็มไชยาเป็นที่สนใจ และขายดีแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ ผู้ทำไข่เค็มอำเภอไชยา จึงทำเพิ่มมากขึ้น ประชาชนมีการเลี้ยงเป็ด มากขึ้น ในปัจจุบัน โดยเฉพาะตำบลเลม็ด ตำบลเวียง และตำบลอื่นๆ ทำกันมา
           ปัจจุบันไข่เค็มไชยาเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ของคนทั้งประเทศ เมื่อกล่าวถึงไข่เค็ม ทุกคนต้องนึกถึงอำเภอไชยา และสิ่งที่พิสูจน์ถึงชื่อเสียง และคุณภาพของไข่เค็มไชยา ก็คือ การที่สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และหอการค้าจังหวัด ได้คัดเลือกไข่เค็มไชยา เป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นของจังหวัด และคณะอนุกรรมการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้คัดเลือกให้ไข่เค็มไชยา นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่น 10 อันดับแรก นอกจากนี้ ตำบลเลม็ด และตำบลเวียง ก็ได้คัดเลือกไข่เค็มเป็นผลิตภัณฑ์



Creative Commons License
ประวัติไข่เค็มไชยา by วิไลวรรณ อุดมวิทยาไกร is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.
Based on a work at http://com226sec015504495.blogspot.com/.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น